นาฬิกาในชีวิตกับเวลาการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายคุณแต่ละวันและการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันแบบไหนที่เหมาะสม เพื่อเป็นการปรับสมดุลร่างกาย และยืดอายุของอวัยวะในร่างกาย มาดูกันดีกว่าว่าแต่ละช่วงเวลาอวัยวะในร่างกายกับกิจกรรมต่างๆสัมพันธ์กันยังไงบ้าง

1. ช่วงเวลา 7.00 – 9 .00 น. “กระเพาะอาหาร” ช่วงนี้เป็นเวลาเหมาะสมในการรับประทานอาหารเช้า ทำให้กระเพาะอาหารมีความสุข ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ช่วงเวลา 9.00 – 11.00น. “ม้าม” อย่าแอบงีบ อย่าเผลอหลับกันนะ เพราะไม่อย่างงั้นม้ามของคุณจะอ่อนแอ

3. ช่วงเวลา11.00 – 13.00น. “หัวใจ” พักเรื่องหนักๆ อย่าเครียดให้มาก รู้จักปล่อยวาง ผ่อนคลายร่างกาย เพราะช่วงนี้หัวใจกำลังทำงานหนัก

4. ช่วงเวลา 13.00 – 15.00น. “ลำไส้เล็ก” ขอเถอะนะ อย่ารับประทานอาหาร หรือขนมจุกจิก ปล่อยให้ลำไส้เล็กของเราดูดซึมสารอาหารอย่างเต็มที่
5. ช่วงเวลา 15.00 – 17.00น. “ต่อมไทรอยด์” ใครที่ชอบออกกำลังกายยกมือขึ้น ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายให้เหงื่อออก เพราะดีต่อระบบไทรอยด์เป็นอย่างยิ่ง
6. ช่วงเวลา 17.00 – 19.00น. “ไต” ทำตัวกระปรี้กระเปร่า ยิ้มง่ายๆ สดชื่นเข้าไว้ แต่ถ้าใครรู้สึกง่วงๆ เพลียๆ สงสัยว่าไตกำลังอ่อนแอหรือเปล่า
7. ช่วงเวลา 19.00 – 21.00น. “เยื่อหุ้มหัวใจ” พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ตื่นเต้น เรื่องหวาดเสียวช่วงนี้นะ เพราะไม่ดีต่อเยื่อหุ้มหัวใจ
8. ช่วงเวลา 21.00 – 23.00น. “ระบบความร้อน” เตือนก่อนนะ อย่าอาบน้ำเย็น อย่าตากลมแรงๆ เพราะไม่ดีต่อระบบความร้อนในร่างกาย
9. ช่วงเวลา 23.00 – ตี 1 “ถุงน้ำดี” ดื่มน้ำสะอาดเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายก่อนเข้านอน เพื่อช่วยให้ถุงน้ำดีไม่ข้น

10. ช่วงเวลา ตี1 – ตี3 “ตับ” รักตับ ห่วงใยตับ ดูแลตับกันหน่อย เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายหลับสนิท ตับจะทำงานและหลั่งสารฆ่าเชื้อโรคที่ไม่ดีออกจากร่างกาย

11. ช่วงเวลา ตี3 – ตี 5 “ปอด” ตื่นเถิดหนาช่วงนี้ปอดอยากรับอากาศสดชื่นและบริสุทธิ์

12. ช่วงเวลา ตี5 – 7 โมงเช้า “ลำไส้ใหญ่” ได้เวลาในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย เป็นช่วงที่ลำไส้ใหญ่จะทำงานล่ะ

รู้แบบนี้ก็ลองนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความแข็งแรง สดใสจากภายในสู่ภายนอก แต่ที่สำคัญอย่าตึงเครียดมากเกินไป พยายามยืดหยุ่นและค่อยๆปรับหาจุดสมดุลให้กับร่างกายตัวเองในแต่ละช่วงเวลา เท่านี้เราก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้แล้ว