โรคยอดนิยมที่พบบ่อย โดยเฉพาะในปัจจุบันสภาวะแวดล้อมมีความเปลี่ยนแปลงในสังคมคนเมือง ที่เต็มไปด้วยมลภาวะที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ฝุ่น ควัน สารพิษ ขยะ น้ำเน่าเสีย ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากขึ้น ร่างกายอ่อนแอลง ทำให้เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคภูมิแพ้มากยิ่งขึ้น
อาการของโรคภูมิแพ้
1. ภูมิแพ้อาหาร
อาการสำคัญของผู้ที่แพ้อาหาร มักจะเกิดขึ้นกับระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร เช่น ไอ จาม น้ำตาไหล คัดจมูก มีอาการบวมแดงหรือคันบริเวณปาก ลิ้น ลำคอ หน้าซีด ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว รู้สึกอ่อนล้า หมดแรง หายใจลำบาก ความดันลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นลมพิษ มีผื่นแดงคันขึ้นทั่วตัว ปวดท้อง ท้องเสีย ขับถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปน
แม้จะมีอาการแสดงบางอย่างที่ใกล้เคียงกับโรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) แต่การแพ้อาหารจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ร่างกายแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอาหารชนิดนั้นเท่านั้น คนทั่วไปจะไม่ปรากฏอาการดังกล่าว ในขณะที่โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากอาหารที่เจือปนเชื้อโรคหรือสารพิษ และทำปฏิกิริยาต่อร่างกายคนทั่วไปด้วย ทั้งนี้ การวินิจฉัยจะเป็นไปตามขั้นตอน เช่น การตรวจสอบประวัติการแพ้ของผู้ป่วย และตรวจสอบว่าผู้ที่รับประทานอาหารชนิดเดียวกันเกิดอาการเดียวกันหรือไม่
2. ภูมิแพ้อากาศหรือภูมิแพ้จมูก
จะมีอาการที่เกิดกับจมูก บริเวณโพรงจมูก และอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก หลังผู้ป่วยหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะขับสารเพื่อทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ คือ จามบ่อย คันและมีการอักเสบบวมทั่วใบหน้า รอบดวงตา จมูก ปาก และลำคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ หายใจไม่ออก หอบหืด ไอ เจ็บคอ หูอื้อ ตาแดง ประสาทรับกลิ่นทำงานได้แย่ลง และอาจมีไข้ร่วมด้วย
3. ภูมิแพ้ผิวหนัง
จะเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังบริเวณที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้ โดยจะเกิดการคัน มีผื่นแดง มีรอยนูนแดง หรือตุ่มบวมอักเสบ เป็นแผลหรือผิวลอกออกได้ง่ายเมื่อเกา อาจลุกลามอักเสบเป็นวงกว้างจนกลายเป็นลมพิษหรือสะเก็ดเงินได้
4. ภูมิแพ้ตา
มีอาการแพ้ที่แสดงออกทางดวงตา เช่น คันหรือระคายเคืองบริเวณดวงตา แสบตา ตาแดง ตาบวม เปลือกตาอักเสบบวม มีน้ำตาไหล รู้สึกเหมือนมีก้อนหรือสะเก็ดเม็ดทรายติดอยู่ในดวงตา ตามีความอ่อนแอ ไวต่อแสง แสงจ้าหรือแม้แต่แสงสว่างปกติก็อาจสร้างความลำบากในการมองเห็น สร้างความรำคาญใจและรบกวนทัศนวิสัยในการมองเห็น
สาเหตุที่เกิดโรคภูมิแพ้
1) เกิดจากร่างกายผลิตภูมิคุ้มกันเพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมที่รับเข้ามา ร่างกายจะขับสารตัวกลางออกมาต้านสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น ซึ่งสารตัวกลางอันนั้นทำให้เกิดการอักเสบและแพ้ เป็นเหตุให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานมากเกินไปทำให้เกิดการแพ้เฉพาะบุคคล ไม่ใช่ทุกคน
2) สารก่อภูมิแพ้ที่เข้ามาในร่างกายจนเกิดฏิกิริยาต่อสาร และจะแสดงอาการแพ้แตกต่างกันสารโปรตีนที่อยู่ในเลือดจะทำหน้าที่ป้องกัน รวมทั้งขจัดและป้องกันเชื้อโรคออกจากร่างกาย
3) ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่ มักแพ้อาหารจำพวกไข่ นม ถั่ว ปลาและอาหารทะเล และการแพ้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ร่างกายแพ้ต่อสารภูมิแพ้ในอาหารชนิดนั้นๆ ผู้ไม่ป่วยจะไม่มีอาการแพ้
4) สารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยจากภูมิแพ้จมูกหรือภูมิแพ้อากาศ มักมาจากไรฝุ่น เชื้อรา หญ้า ละอองเกสร ขนสัตว์ ที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศและเข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ
5) สารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่ร่างกายมีหลายชนิด เช่น สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ถุงมือยาง ยาย้อมผม โลหะ เงิน หรือผงฝุ่นที่ลอยอยู่กับอากาศ
6) ภูมิแพ้ตา มักเกิดจากไรฝุ่น ควัน สารเคมี ละอองเกสร ขนหรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศและกระแสลม เข้าสู่เยื่อบุดวงตา ทำให้เกิดการระคายเคืองได้หลายรูปแบบ
การป้องกันโรคภูมิแพ้
1) หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เมื่อรู้ว่าเป็นโรคภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือเผชิญกับสิ่งที่มีสารที่ตนแพ้
2) เขียนบันทึกประจำวันว่าทานอะไรเข้าไปแล้วมีความรู้สึกหรืออาการอย่างไรบ้าง
3) กินยา ยาจะช่วยป้องกันเมื่อมีอาการแพ้ ต้องกินยาตามที่แพทย์กำหนด ไม่หยุดตามพละการ เพราะอาจมีผลข้างเคียงหรือดื้อยาได้
4) เตรียมการในภาวะฉุกเฉิน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ขั้นรุนแรง ควรแจ้งอาการป่วยต่อคนใกล้ชิด สวมใส่สร้อยคอหรือสร้อยข้อมือแพทย์ เพื่อเตือนให้แพทย์ทราบเมื่ออาการกำเริบ กรณีฉุกเฉินที่มีอาการจนไม่สามารถสื่อสารได้ แพทย์จะให้ผู้ป่วย ฉีดยาพิเนฟรินสำหรับฉีดรักษาด้วยตนเอง